arrow-prev ย้อนกลับ
23 พฤศจิกายน 2564
โดย: นาถลดา ปฐมวีพิสุทธิ์, ปพิชญา เทศนา, พัฒนา เต็งอำนวย

การศึกษาผลของการรับประทานเควอซิทินต่อการลดระดับกรดยูริกในเลือดในผู้ป่วยชายโรคอ้วน

November 23, 2021

นาถลดา ปฐมวีพิสุทธิ์ ปพิชญา เทศนา พัฒนา เต็งอำนวย

การศึกษาผลของการรับประทานเควอซิทินต่อการลดระดับกรดยูริกในเลือดในผู้ป่วยชายโรคอ้วน

บทคัดย่อ

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงอาจก่อให้เกิดโรคเกาต์และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีความ เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้แนวทางการรักษาในปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำให้ใช้ยาเพื่อลดระดับ กรดยูริกในคนทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ จึงมีการใช้สารพฤกษเคมีเข้ามาทดแทน อาทิเช่น เควอซิทินซึ่งมีคุณสมบัติ ในการยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase และช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรับประทานเควอซิทินต่อการเปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริกในเลือดของผู้ป่วยชายโรคอ้วน การศึกษาวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมและปกปิดสองทาง ในผู้ป่วยชายโรคอ้วนจำนวน 43 คน ช่วงอายุระหว่าง 25-60 ปี ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 5.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร วัดผลด้วยการ เปรียบเทียบระดับกรดยูริกในเลือดก่อนและหลังรับประทานเควอซิทินขนาด 500 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ รวมถึงการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ โดยการวัดค่าการทำงานของไตด้วยคาซีรั่มครีดินินและ การทำงานของตับด้วยเอนไซม์แอสพาเทท อะมิโนทรานส์เฟอเรส และเอนไซม์อะลานิน อะมิโนทรานส์เฟอเรส ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่รับประทานเควอซิทินหลัง 4 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริกในเลือดลดลงเฉลี่ย 0.50 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร (p-value 0.012, 95%CI = -0.88, -0.12) และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ต่อการทำงานของไตและตับ โดยสรุปเควอซิทินเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อใช้ลดระดับกรดยูริก และใช้ป้องกันความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่สัมพันธ์ กับภาวะกรดยูริกในเลือดสูง

คำสำคัญ เควอซิทิน กรดยูริก ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง อ้วน

บทนำ

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางสาธารณสุขที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ มีการศึกษาทางระบาดวิทยาหาความชุกในประชากรโลก พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี1 สาเหตุหลักเกิดจากการ เสียสมดุลระหว่างการสร้างและ/หรือการขับกรดยูริก โดยการสร้างที่มากเกิน อาจเกิดจากปัจจัยภายนอก ผ่านการรับประทานอาหารพิวรีนสูง (High purines diet) หรือเกิดจากปัจจัยภายในร่างกายเอง ซึ่งมีการ สลายสารพิวรีนนิวคลีโอไทด์ (Purine nucleotide) กรดยูริกจะลูกขับออกจากร่างกายผ่านทางไตเป็นหลัก หากเกิดความผิดปกติของไต หรือมีสารอื่นที่ไปขัดขวาง การขับกรดยูริก จะทำให้การขับกรดยูริกลดลง ผู้ป่วย โรคอ้วนมักมีเกณฑ์เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง มากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีทั้งการสลายสาร purine nucleotide ของเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้น และลดการขับ กรดยูริกออกทางไต

ระดับกรดยูริกในเลือดที่สูงขึ้น นอกจาก จะก่อให้เกิดโรคเกาต์และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ยังพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาวะทางหัวใจและ หลอดเลือดโดยพบความสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับกรดยูริก มากกว่า 5.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งยังถือเป็นระดับ กรดยูริกในเกณฑ์ปกติ2,แนวทางการรักษาไม่มีคำแนะนำ ให้ใช้ยาลดระดับกรดยูริกในคนทั่วไป4ในปัจจุบันจึงมี การใช้สารพฤกษเคมีเช้ามาทดแทน เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavonoid พบมาก ในหัวหอมแดง หัวหอมใหญ่ ผลไม้กลุ่มเบอร์รี่ มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน5 นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติ ในการยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase ที่ใฃ้ในการ สร้างกรดยูริก โดยเควอซิทินจะเข้าไปจับกับเอนไซม์ ในตำแหน่ง Isoalloxazine ของโครงสร้างส่วน Flavin adenine dinucleotide ยึดติดกันด้วยแรง แวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals forces) และแรง จากพันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bonding) ส่งผลให้ โครงสร้างโมเลกุลเปลี่ยนแปลงไป จนเอนไซม์ไม่สามารถ ทำงานได้ รวมไปถึงช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทาง ไตอีกด้วย

ทั้งนี้การศึกษาวิจัยเรื่องการรับประทาน เควอซิทินต่อผลการลดระดับกรดยูริกในมนุษย์ยังมี จำกัด และพบการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในคนสุขภาพดี ที่ขนาด 500 มิลลิกรัม2ส่วนกลุ่มโรคอื่นๆ อาทิโรคอ้วน จากงานวิจัยที่ผ่านมานั้น ทำการวัดระดับกรดยูริก ในเลือดเป็นเพียงวัตถุประสงค์รอง และอภิปรายเรื่อง ขนาดเควอซิทินที่ใช้ว่าน้อยเกินไป ทำให้ไม่เห็นผลการ เปลี่ยนแปลง9 จากข้อจำกัดดังกล่าวจึงนำมาสู่การศึกษา ผลของการรับประทานเควอซิทินขนาด 500 มิลลิกรัม ต่อลดระดับกรดยูริกในผู้ป่วยชายโรคอ้วน

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลของการรับประทานเควอซิทิน ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริกในผู้ป่วยชายโรคอ้วน

วิธีการศึกษา

การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่ม ควบคุมและปกปิดทั้งสองทาง (Randomized, double-blinded, controlled trial) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ชายที่เข้ารับบริการในมิตรในมิติไมตรี คลินิกเวชกรรมและบุคคลทั่วไป ช่วงอายุ 25-60 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคอ้วน ตามเกณฑ์องค์กร WHO ซึ่งหมายถึง การมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรในประชากรเอเชียแปซิฟิก จำนวน 48 คน (คำนวณจากวิจัยของ Shi และ Williamson2 ที่ค่าความเชื่อมั่น 95% ค่าอำนาจการ ทดสอบที่ 0.8 และ Dropout rate 20%) เก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2564 มีเกณฑ์ การคัดเข้า ได้แก่ เพศชาย อายุระหว่าง 25-60 ปี ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 5.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และไม1เคยเป็นโรคเกาต์และนิ่วทางเดินปัสสาวะ เกณฑ์การคัดออก ได้แก่ ค่าการทำงานของไตและตับ ผิดปกติ เคยได้รับการวินิจฉัยโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวัน มีการรับประทานอาหารเสริมในช่วง 2 สัปดาห์ก่อน เริ่มวิจัยใช้ยาที่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริกในเลือด เกณฑ์ให้กลุ่มตัวอย่างเลิกจากการศึกษา ได้แก่ ขาดการ รับประทานอาหารเสริมมากกว่า 2วัน ไม่สามารถทน ผลข้างเคียงจากยาหรือเกิดภาวะที่อันตรายต่อสุขภาพ ในระหว่างเข้าร่วมวิจัย สิ้นสุดการศึกษามีผู้ลูกคัดออก จากการวิจัย 5 คน เนื่องจากรับประทานผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมไม่ต่อเนื่อง 1 คน รับประทานแอสไพริน ระหว่างการวิจัย 1 คน และไม่สามารถเดินทางมาตรวจ ติดตาม 3 คน

ผู้เข้าร่วมวิจัยจะลูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธี Block randomization ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ได้รับ เควอซิทินขนาด 500 มิลลิกรัม และกลุ่มควบคุมเป็น ยาหลอก บรรจุในเม็ดแคปซูลที่มีลักษณะเหมือนกัน ทุกประการ ทำการผลิตโดยบริษัท ดับเบิลยู.ยู.อาร์.เอ็กซ์ จำกัด ซึ่งจัดทำยาและอาหารเสริมตามใบสั่งแพทย์ (Compounding pharmacy) จากนันเจ้าหน้าที่ จะจ่ายอาหารเสริมตามลำดับที่ใสในซองทึบปิดผนึกไว้ (SNOSE) แจ้งวิธีการรับประทานโดยให้รับประทาน วันละ 1 เม็ดพร้อมอาหารเช้า เป็นระยะเวลา4 สัปดาห์ ให้ความรู้เรื่องการปรับพฤติกรรมเพื่อลดระดับ กรดยูริกอย่างเท่าเทียมกัน ดังนี้ ควบคุมอาหารกลุ่ม พิวรีนสูง ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มี ฟรุกโตสคอร้นไซรัป (Fructose corn syrup) ควบคุม นํ้าหบักให้อยู1ในเกณฑ์ปกติ รวมถึงแนะนำการ ลงบันทึกการบริโภคอาหารในสัปดาห์สุดท้าย เพื่อ นำไปเปรียบเทียบพลังงานสารอาหารเฉลี่ยต่อวัน ของทั้ง 2 กลุ่ม ผู้วิจัยจะมีการรวบรวมข้อมูลสุขภาพ พื้นฐาน ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด ชั่งนี้าหนัก วัดส่วนสูง ตรวจวัดความดันโลหิต รวมถึงติดตาม อาการไม่พึงประสงค์ ตรวจค่าการทำงานของไตและ ตับ เพื่อดูผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังสิ้นสุดการวิจัย

ข้อมูลจะถูกนํามาวิเคราะห์ตาม Per protocol analysis โดยข้อมูลสุขภาพพื้นฐานจะนําไปวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Independent T-test ส่วนการเปรียบเทียบ ความแตกต่างผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ น้ําหนัก ดัชนีมวลกาย และความดันโลหิต ระหว่างก่อนและหลังสิ้นสุดการวิจัย ใช้สถิติ Paired t-test และ เปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่มทดลอง ด้วยสถิติ Independent T-test การวิจัยครั้งนี้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

รูปที่ 1 แผนการดำเนินงาน (Study flow)

ผลการศึกษา

ข้อมูลสุขภาพทั่วไปของผู้เข้าร่วมวิจัยในประเด็นอายุ น้ําหนัก ส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย ระดับ ความดันโลหิต ระดับกรดยูริกในเลือด ค่าการทํางาน ของไตและตับพื้นฐาน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ส่วน ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ โรคประจําตัว และยาที่ใช้ประจําพบว่ามีความคล้ายคลึงกันทั้ง 2 กลุ่ม ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ข้อมูลของผู้เข้าร่วมวิจัย

ตารางที่ 2 ผลการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูล

หมายเหตุ * คือ มีระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Independent t-test (a) และ Paired t-test (b)

จากการศึกษาพบว่าระดับกรดยูริกในเลือด ของกลุ่มทดลองช่วงก่อนและหลังสิ้นสุดการวิจัย เท่ากับ 7.42+1.25 และ 6.91+1.29 มิลลิกรัม ต่อ เดซิลิตร ตามลําดับ มีค่าเฉลี่ยผลต่างเท่ากับ 0.50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.012, ช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 = -0.88, -0.12) ส่วนในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกันในทางสถิติ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับกรดยูริกในเลือดช่วงเริ่มต้นและสิ้นสุด การวิจัย เปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่าไม่มีความ แตกต่างกันในทางสถิติ (p=0.071) โดยการประเมิน พลังงานจากสารอาหารเฉลี่ยต่อวันของทั้ง 2 กลุ่ม มีความใกล้เคียงกัน คือ 2,606 และ 2,450 กิโลแคลอรี่ ตามลําดับ

Uric acid

รูปที่ 2 เปรียบเทียบระดับกรดยูริกในเลือดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

ในกลุ่มทดลองมีน้ําหนักลดลงเฉลี่ย 0.70 กิโลกรัม และค่าดัชนีมวลกายลดลงเฉลี่ย 0.26 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.047, ช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 = -1.38, -0.01, p=0.039, ช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 = -0.50, -0.01 ตามลําดับ)

ระดับความดันโลหิต systolic ของทั้ง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมลดลงอย่างoxidaseมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.020, ช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 = -11.69, -1.13, p=0.018, ช่วงความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 = -8.77, -0.94 ตามลําดับ) โดยมี ค่าลดลงเฉลี่ยเท่ากับ 6.41 และ 4.86 มิลลิเมตรปรอท ส่วนระดับความดันโลหิต diastolic ของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างกันในทางสถิติ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับความดันโลหิต systolic และ ระดับความดันโลหิต diastolic ช่วงเริ่มต้นและสิ้นสุด การวิจัยเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่าไม่มีความ แตกต่างกันในทางสถิติ (p=0.626, p=0.833 ตามลําดับ)

ประเด็นเรื่องความปลอดภัยในการรับประทาน เควอซิทินขนาด 500 มิลลิกรัมจากการสอบถามอาการ ไม่พึงประสงค์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการวัดค่า การทํางานของไตและตับ ผลไม่พบอาการข้างเคียงและไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการ วิจัย ยกเว้นค่า AST ในกลุ่มทดลองซึ่งมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.009, ช่วง ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 = -11.60, 2.60) ค่าลดลงเฉลี่ย 5.14 หน่วยสากลต่อลิตร และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย ผลต่างของค่า Cr, AST และ ALT ช่วงเริ่มต้นและ สิ้นสุดการวิจัยเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่าไม่มี ความแตกต่างกันในทางสถิติ (p=0.204, p=0.332, p=0.159 ตามลําดับ)

อภิปรายผล

ผลการศึกษาพบว่าการรับประทานเควอซิทินในรูปแบบอาหารเสริมขนาด 500 มิลลิกรัม ซึ่งมี ชีวปริมาณออกฤทธิ์ (bioavailability) เทียบเท่ากับ เควอซิทินในหัวหอมแดง ปริมาณ 100 กรัม เป็นระยะ เวลา 4 สัปดาห์ สามารถลดระดับกรดยูริกในเลือดได้ 0.50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งมีนัยสําคัญทางสถิติ และนัยสําคัญทางคลินิก เนื่องจากสามารถลดระดับ กรดยูริกได้ แม้ว่าระดับกรดยูริกเริ่มต้นในกลุ่มตัวอย่าง ไม่ได้สูงมาก ผลการวิจัยในครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัย ของ Shi และ Williamson ที่ทําการศึกษาในผู้ชาย สุขภาพดี โดยพบว่า เควอซิทินสามารถลดระดับกรด ยูริกในเลือดได้เฉลี่ย 0.45 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จาก คุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase และช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางหน่วยไต อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการ เปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริกในเลือดระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่าไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งนี้ อาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริกนั้น เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย อาทิ อาหาร เครื่องดื่ม ไม่ได้ เกิดจากการรับประทานเควอซิทินเพียงอย่างเดียว เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับคําแนะนําที่ถูกต้อง เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีขึ้น ร่วมไปกับ ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยที่อาจไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ ไม่เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในการ เปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริกในระหว่าง 2 กลุ่มทดลอง นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในเพศชายเท่านั้น เนื่องจากต้องการกําจัดตัวแปรกวน (confounding factor) จากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ทําให้ไม่อาจนําไป อ้างอิงในเพศหญิงได้ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เมื่อพิจารณาตัวแปรกวนในการศึกษาที่อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริกในเลือด ได้แก่ น้ําหนัก และระดับดัชนีมวลกาย พบว่าแม้ในกลุ่มทดลองจะมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ ในทางคลินิกน้ําหนักที่ลดลง 0.7 กิโลกรัม และค่าดัชนี มวลกายที่ลดลง 0.26 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนั้น ไม่น่าเป็นสาเหตุให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดลงได้ถึง 0.50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และไม่มีความสําคัญทาง คลินิก เมื่อเทียบกับการวิจัยของ Nicholls และ Scott11 ที่พบว่าน้ําหนักที่ลดลง 8 กิโลกรัม จะช่วย ลดระดับกรดยูริกได้ 0.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ระดับความดันโลหิต systolic ของทั้ง 2 กลุ่ม ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่ไม่พบการ เปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต diastolic ซึ่งผล การศึกษามีทั้งส่วนที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับงาน meta-analysis ของ Serban12 ที่พบว่าเควอซิทิน ขนาดสูงกว่า 500 มิลลิกรัม จะสามารถลดระดับ ความดันโลหิต systolic 3.04 มิลลิเมตรปรอท และ ความดัน diastolic 2.63 มิลลิเมตรปรอท ทั้งนี้ เนื่องจากระดับความดันโลหิตไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก ของการวิจัย ผู้วิจัยจึงไม่ได้ควบคุมตัวแปรกวนที่อาจ ส่งผลต่อระดับความดันโลหิต เช่น ชนิดและขนาดของ ยาที่ใช้ รวมถึงการควบคุมอาหาร ทําให้ผลทางสถิติอาจไม่สามารถนําไปใช้อ้างอิงทางคลินิกได้

การรับประทานเควอซิทินขนาด 500 มิลลิกรัม ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าค่า AST มีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้น่าจะมาจากคุณสมบัติการ ต้านอนุมูลอิสระ และคุณสมบัติลดการอักเสบ ซึ่งอาจ นําคุณสมบัติดังกล่าวไปทําการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต

สรุปผล

แม้ว่าจากผลการศึกษาเควอซิทินจะถือเป็น อีกหนึ่งทางเลือก เพื่อช่วยลดระดับกรดยูริก และอาจ ใช้ป้องกันความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะ กรดยูริกในเลือดสูง เช่น โรคเกาต์ แต่อย่างไรก็ตาม การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ควบคุมน้ําหนักให้อยู่ใน เกณฑ์ปกติ ลดการรับประทานอาหารกลุ่มพิวรีนสูง ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ลดเครื่องดื่มที่มีฟรุกโตสคอร์น ไซรัป ร่วมกับการรับประทานยาโรคเรื้อรังอย่างสม่ําเสมอ ก็ยังมีความสําคัญเช่นกัน ในการลดระดับกรดยูริก และ ป้องกันความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะ กรดยูริกในเลือดสูง

ข้อเสนอแนะ

การวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 43 คน และระยะเวลาในการศึกษาเพียง 4 สัปดาห์ ซึ่งไม่สามารถแสดงประสิทธิผลในระยะยาวของเควอซิทินและอาจเป็นสาเหตุให้ไม่เห็นความแตกต่างทางสถิติ จึงควร เมื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของระดับกรดยูริก ในเลือดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการขยายระยะเวลาในการศึกษา นอกจากนี้ ผลจาก การวิจัยอาจนําไปต่อยอดสู่การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติ การลดระดับกรดยูริกของเควอซิทินในกลุ่มเพศหญิง หรือกลุ่มผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่มีแนวโน้มระดับกรดยูริก ในเลือดสูง เช่น ผู้ป่วยโรคเกาต์ รวมถึงอาจนําคุณสมบัติ การลดอักเสบ ในประเด็นช่วยลดค่าเอนไซม์ตับไปศึกษาเพิ่มเติม

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปอย่างสมบูรณ์ ด้วยความกรุณาจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ พัฒนา เต็งอํานวย อาจารย์ที่ปรึกษา และ ดร.ปพิชญา เทศนา อาจารย์ประจําวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่า ให้คําปรึกษาตลอดการดําเนินงาน ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ คลินิกมิตรไมตรี สาขาเทพประสิทธิ์ และบริษัท มิตรไมตรีการแพทย์ จํากัด ที่อํานวยความสะดวก และเอื้อเฟื้อสถานที่เก็บข้อมูลวิจัย

เอกสารอ้างอิง

1. Lohr JW. Hyperuricemia: medscape; 2018 [Available from: https://emedicine. medscape.com/article/241767-clinical

2. Matsuura F, Yamashita S, Nakamura T, et al. Effect of visceral fat accumulation on uric acid metabolism in male obese subjects: visceral fat obesity is linked more closely to overproduction of uric acid. than subcutaneous fat obesity. Metabolism 1998:47:929-33.

3. Feig DI, Kang D-H, Johnson RJ. Uric acid and cardiovascular risk. N Engl J Med 2008;359:1811-21.

4. FitzGerald JD, Dalbeth N, Mikuls T, et al. 2020 American college of rheumatology guideline for the management of Gout. Arthritis Rheumatol 2020;72:879-9

5. Ay M, Charli A, Jin H, et al. molecular mechanisms underlying protective effects of Quercetin against mitochondrial dysfunction and progressive dopaminergic neurodegeneration in cell culture and mitoPark transgenic mouse models of parkinson's disease. J Neurochem 2017;14:766-82.

6. Zhang C, Wang R, Zhang G, et al. Mechanistic insights into the inhibition of quercetin on xanthine oxidase. Int J Biol Macromol 2018;112:405-12.

7. Renugadevi J, Prabu SM. Quercetin protects against oxidative stress-related renal dysfunction by cadmium in rats. Exp Toxicol Pathol 2010;62:471-81.

8. Shi Y, Williamson G. Quercetin lowers plasma uric acid in pre-hyperuricaemic males: a randomised, double-blinded, placebo-controlled, cross-over trial. Br J Nutr 2016;115:800-6.

9. Egert S, Bosy-Westphal A, Seibert J, et al. Quercetin reduces systolic blood pressure and plasma oxidised low-density lipoprotein concentrations in overweight subjects with a high-cardiovascular disease risk phenotype: a double-blinded, placebo-controlled cross-over study. Br J Nutr 2009;102:1065-74.

10. Hu Q-H, Zhang X, Wang X, et al. Quercetin regulates organic ion transporter and uromodulin expression and improves renal function in hyperuricemic mice. Eur J Nutr 2012;51:593-606.

11. Nicholls A, Scott JT. Effect of weight-loss on plasma and urinary levels of uric acid. Lancet 1972;2:1223-4.

12. Serban MC, Sahebkar A, Zanchetti A, et al. Effects of Quercetin on blood pressure: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. J Am Heart Assoc 2016;5:1-16.



arrow-prev ย้อนกลับ